สาระน่ารู้ ประจำเดือน กับเรื่องราวดีๆ
พร้อมประโยชน์เกี่ยวกับผักและผลไม้
และทางเลือกใหม่ สำหรับสมาชิก
ที่รักสุขภาพ ...

ต้นอัมพวา

ต้นอัมพวา Amphawa
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynometra cauliflora L.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น นัมนัม นางอาย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 ม. ขนาดทรงพุ่ม 3-4 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแผ่กิ่งก้านห้อยย้อย โคนต้นเป็นพูพอนขนาดเล็ก เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา มีรอยด่างขาวทั่วไป เป็นปุ่มปม ซึ่งเป็นจุด กำเนิดของช่อดอก

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 20-30 ซม.ใบย่อย 2-4 คู่ รูปข้าวหลามตัดแกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 10-15 ซม.ปลายใบแหลมทู่โคนใบแหลมและเบี้ยวขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสดเรียบเป็นมันใบอ่อนสีเขียว อมชมพู ออกเป็นช่อห้อยย้อย ก้านใบยาว 0.5 ซม.

ดอก สีขาวหรือสีครีม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่กิ่งขนาดใหญ่ และลำต้นช่อดอกห้อย ยาว 3-5 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กโคนกลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก โคนกลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก รูปช้อน กลีบบาง เป็นริ้ว เกสรเพศผู้ 10 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.5-0.8 ซม.


ผล ผลสดแบบมีเนื้อ เป็นฝักพองหนาผิวขรุขระ รูปครึ่งวงกลม ปลายผลแหลมเป็นจะงอย กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีน้ำตาล อมเขียว เมื่อสุกสีน้ำตาลอมเหลืองผิวเต่งตึงอวบน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว เมล็ดรูปครึ่งวงกลมแบนและบาง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ดต่อผล ออกดอก และติดผลตลอดปี

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดสด นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป

การใช้ประโยชน์ อัมพวา สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและผลที่สุกแล้วโดยรับประทานเป็นผลไม้ผลสดรูปทรงของผลไม้น่ารับประทาน รสชาติออกจะแปลกไปจากผลไม้อื่นๆ มีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อกรอบ ถ้าสุกจะนิ่ม ทั้งกลิ่น และรสชาติ คล้ายกับชมพู่สาแหรก

ขอบคุณที่มา วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

 

 
 


CopyRight 2007.
Thai Fresh Market | support@thaifreshmarket.net
powered by i.oum