สาระน่ารู้ ประจำเดือน กับเรื่องราวดีๆ
พร้อมประโยชน์เกี่ยวกับผักและผลไม้
และทางเลือกใหม่ สำหรับสมาชิก
ที่รักสุขภาพ ...

ฟักทอง

ชื่ออื่น ๆ : มะฟักแก้ว (เหนือ), มะน้ำแก้ว (เลย), น้ำเต้า (ใต้), หมักอื้อ (เลย-ปราจีนบุรี), หมากฟักเหลือง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เหลืองเคล่า, หมักคี้ส่า

ชื่อสามัญ : Pumpkin

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita maxima Duchesne.

วงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามพื้นดินและต้องการหลักยึด ตามลำเถาจะมีมือเอาไว้เกาะ เถามีขนาดยาว ใหญ่ และมีขนสาก ๆ ปกคลุมอยู่ มีสีเขียว

ใบ : ออกใบเดี่ยว ตามลำเถา ใบของฟักทองเป็นแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ มือ ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ

ดอก : ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และส่วนที่ยอดของเถา ลักษณะของดอกเป็นรูปกระดิ่งสีเหลือง ในดอกตัวเมียเมื่อบานเต็มที่แล้ว จะมองเห็นผลเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ใต้ดอก

ผล : มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นพูกลมจะมีทั้งทรงแบน และทรงสูง เปลือกของผลจะแข็ง มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงก็แล้วแต่ชนิดของฟักทองนั้น ๆ เนื้อในผลสีเหลืองรับ

ประทานได้ เมื่อทานเข้าไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญงอกงามดีในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ผล เมล็ด

สรรพคุณ : ผล เนื้อในของผลฟักทองนั้นจะมีสารพวก carotenes อยู่ ซึ่งสารนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของคาวหรือของหวาน เป็นอาหารเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี

เมล็ด ภายในเมล็ดจะมีน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นยาที่ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด โดยการใช้เมล็ดแห้ง 60 กรัมนำมาบดให้เป็นผง แล้วผสมกับน้ำตาลและนม ให้คนไข้ทานโดยทิ้ง

ช่วงห่างประมาณ 2 ชั่วโมง พอครั้งสุดท้ายให้ดื่มน้ำมันละหุ่งตามเพื่อให้ถ่าย

สารเคมีที่พบ : เนื้อฟักทองประกอบด้วยสาร carotenes และแป้งเป็นสารพวก carotenes สารสองชนิด

นี้จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเมื่อเราบริโภคเข้าไปแล้ว และภายในเมล็ดจะมีน้ำมัน

ขอขอบคุณที่มา www.samunpri.com

 

 

 
 


CopyRight 2007.
Thai Fresh Market | support@thaifreshmarket.net
powered by i.oum